ยื่นขออนุญาตอย่างไรให้ประหยัดเวลาและถูกต้อง ไม่ต้องไปทำงานซ้ำซ้อน
ผมเอก กัมปนาท อยู่กับ สถาปนิกดอส ก็ทำงานด้วยกันอยู่ที่นิคม เกตุเวย์ เรามีเทคนิคยังไงครับ ในการที่จะออกแบบก่อสร้างโรงงาน
ข้อที่ 1. ต้องดูความต้องการของลูกค้าก่อน ว่าต้องการใช้พื้นที่เท่าไร ดูฟังก์ชั่นการใช้งาน ความกว้าง x ยาว x ความสูง
ข้อที่ 2. เรารียกว่า รับบรีฟ เพื่อเอามาวางผัง วางเลเอาท์ ส่วนไหนคืออะไร ขนาดกว้าง x ยาว เท่าไร วางผังของตัวอาคารที่ลูกค้าอยากได้เอาไว้บนเลเอาท์ของแปลนที่ดินที่เรามี
ข้อที่ 3. กฎระเบียบ ระยะร่น กฎหมายของนิคม คือต้องเผื่อระยะร่นให้ถูกต้อง ตามกฎของทางการนิคม ก็จะมีตั้งแต่ 6-10 เมตร แล้วแต่ขนาดของตัวอาคารที่เราจะสร้าง
แต่ถ้าเกิดไปอยู่นอกนิคม มันก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวโรงงาน ขนาดไม่เกิน 500 ตร.ม. 500 - 1,000 ตร.ม. 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป ระยะร่นก็จะแตกต่างกันไป สามารถที่จะไปดูข้อมูลตัวนี้ได้ ในคลิปที่ผมเคยลงไปแล้วนะครับ
ข้อที่ 4. ข้อที่สำคัญที่จะทำให้ ความคิดทั้งหมดเอามาใช้งานได้จริง และประหยัดเวลาก่อนที่เราจะยื่นขออนุญาตก่อสร้าง คือ การสำรวจหน้างานจริง วางผัง ว่าเหลือระยะเท่าไร เพื่อประหยัดเวลา บางครั้งผังก็ถูกทำขึ้นมาจาก Owner ที่มีระยะที่ไม่ถูกต้อง พอทำเข้าจริงๆ เหมือนที่ไซต์งานเราที่เจอในวันนี้ พื้นดินมันค่านข้างที่จะไม่เป็นสี่เหลี่ยม พอวางแนวอาคารและมีการถมด้วย ระยะร่นจากตัวอาคารจนไปถึงระยะแนวที่ดินที่ถม เหลือระยะมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เท่ากัน
บางครั้งหน้างานจริงๆอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิด เราก็จะต้องปรับแบบก่อนที่เราจะยื่นขออนุญาตก่อสร้างไม่งั้นยื่นไปแล้วก็จะต้องไปแก้ไข ดัดแปลงอาคารและไปเสียค่าเขียนแบบใหม่ เสียค่าวิศวกรใหม่ เสียเวลา และ ที่สำคัญ เสียความรู้สึก
>>>สามารถรับชมวีดีโอแบบเต็มได้ที่<<<
TikTok : ภูสิริ ริชชี่ แอสเสท